แมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุที่พบอยู่ในร่างกาย มีบทบาทสำคัญหลายอย่างภายในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นโคแฟกเตอร์ในกระบวนการเมทาบอลิซึมที่สำคัญ การดูดซึมของวิตามินบางชนิด ช่วยรักษาระดับสมดุลของแร่ธาตุในร่างกาย ซึ่งความสมดุลของแร่ธาตุนี้เอง ส่งผลต่อระดับความต่างศักย์ไฟฟ้า และปฏิกิริยาเคมีในร่างกาย หากร่างกายได้รับปริมาณแมกนีเซียมไม่เพียงพอ ย่อมเกิดผลกระทบต่อเซลล์ในร่างกาย ทำให้เกิดผนังหลอดเลือดขาดสมดุลระหว่างแร่ธาตุ ส่งผลให้การบีบตัวและคลายตัวของผนังหลอดเลือดไม่ปกติ อันเป็นสาเหตุของการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจตามมาได้ อีกทั้งระบบการไหลเวียนเลือดก็จะผิดปกติ ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจแข็งตัวเพราะมีแคลเซียมปริมาณมาก จากผลของการขาดสมดุลของแร่ธาตุ ทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือดและเป็นโรคหัวใจตีบตันได้ ในบางครั้งยังส่งผลต่อเนื่องทำให้จังหวะและอัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติไป ไม่สม่ำเสมอ เพราะกล้ามเนื้อหัวใจไม่สามารถทำงานได้เต็มที่อีกด้วย
จะเห็นว่าแมกนีเซียมมีความสำคัญมาก และหากขาดแร่ธาตุนี้ไปจะเกิดผลเสียตามมาไม่น้อย ในการบริโภคแมกนีเซียมจากอาหาร ควรอยู่ระหว่าง 300 ถึง 400 มิลลิกรัมต่อวัน และถึงแม้ว่าในทุกๆวัน เราอาจจะบริโภคไม่ได้ตามปริมาณที่ควรได้รับ แต่หากเราเลือกอาหารที่มีปริมาณแมกนีเซียมสูงเพื่อมารับประทานอยู่สม่ำเสมอ ก็สามารถช่วยรักษาและบำรุงหัวใจได้
แหล่งอาหารที่มีแมกนีเซียมสูงทั้ง 20 ชนิด ถูกรวบรวมไว้เป็นข้อมูลให้เลือกรับประทานอาหารเพื่อป้องกันการขาดแมกนีเซียม ทั้งนี้ไม่ต้องกังวลว่าจะได้รับปริมาณแมกนีเซียมที่มากเกินไป เพราะในคนปกติร่างกายจะมีกระบวนการกำจัดแร่ธาตุส่วนเกินผ่านทางไต เพื่อให้เกิดสมดุลของร่างกาย
1. อัลมอนด์

อัลมอนด์ที่ไม่ว่าจะทานเล่น หรือจะนำไปทำเป็นคุ้กกี้แสนอร่อย ก็ล้วนมีประโยชน์และอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอการเสื่อมของสมอง และช่วยในการไหลเวียนของระบบหลอดเลือด ลดอัตราความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ อีกทั้งยังมีไขมันดีเป็นส่วนประกอบ ช่วยลดระดับคลอเรสเตอรอลได้อีกด้วย เพราะในอัลมอนด์ 1 ผลเล็กๆ มีปริมาณแมกนีเซียมสูงถึง 80 มิลลิกรัมเลยทีเดียว